Palm Mill

วิธีสกัดน้ำมันปาล์ม ในปัจจุบัน มี 2 แบบคือ

แบบใช้ไอน้ำ เป็นเทคโนโลยีที่โรงงานส่วนใหญ่นิยมใช้ กระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มจะใช้ไอน้ำร้อนในการหยุดปฏิกิริยาการเกิดกรดไขมัน อิสระ (free fatty acid) ในผลปาล์ม และช่วยทำให้ทะลายปาล์มสดอ่อนตัวและหลุดออกจากขั้วผลได้ง่าย จากนั้นแยกผลปาล์มและทะลายออกจากกัน นำผลปาล์มไปเข้าหม้อนึ่งไอน้ำเพื่อทำให้เนื้อปาล์มหลุดจากกะลาเมล็ดในปาล์ม เนื้อปาล์มที่แยกออกได้จะถูกส่งเข้าเครื่องหีบเพื่อบีบเอาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO, crude palm oil) ออกมา น้ำมันปาล์มดิบที่ได้จะถูกนำไปผ่านกระบวนการกรอง การตกตะกอน และอื่นๆ เพื่อทำน้ำมันดิบให้สะอาด สุดท้ายนำไปผ่านกระบวนการไล่ความชื้นตกค้างออกจากน้ำมันปาล์ม ผลิตภัณฑ์ที่สกัดได้เป็นน้ำมันปาล์มเกรดเอ มีคุณภาพและสมบัติเหมาะต่อการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
สำหรับลูกค้าที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการนึ่งปาล์มของกระบวนการผลิต เรายังเป็นตัวแทนจำหน่ายหม้อนึ่งปาล์มแบบเทเอียง Tilting อีกด้วย

แบบไม่ใช้ไอน้ำ กระบวนการสกัดเริ่มจากนำผลปาล์มไปอบแห้งเพื่อลดความชื้นและหยุดปฏิกิริยาการ เกิดกรดไขมันอิสระก่อน แล้วนำผลปาล์มที่ผ่านการอบไปเข้าเครื่องหีบน้ำมันต่อให้ได้น้ำมันปาล์มออกมา น้ำมันปาล์มที่ได้เป็นน้ำมันรวมระหว่างเนื้อปาล์มกับเมล็ดในปาล์ม ซึ่งมีค่าไอโอดีน (iodine value) ไม่เหมาะที่จะใช้ในกระบวนการกลั่นต่อ ทำให้น้ำมันถูกลดเกรดเป็นน้ำมันปาล์มเกรดบีที่มีราคาขายต่ำกว่าน้ำมันเกรดเอ

Palm Oil Refinery

กระบวนการกลั่นบริสุทธิ์น้ำมันปาล์ม (Refined Processing)

กระบวนการกลั่นบริสุทธิ์น้ำมันปาล์ม (Refined Processing) การกลั่นบริสุทธิ์น้ำมันปาล์ม เป็นกระบวนการทำให้น้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบ เป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์และน้ำมันเมล็ดในปาล์มบริสุทธิ์ พร้อมสำหรับการบริโภค ซึ่งกระบวน การกลั่น สามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ

  1. วิธีทางกายภาพ (Physical or Steam refining) เป็นกระบวนการกำจัดกรดไขมันอิสระโดยผ่านไอน้ำเข้าไปในน้ำมันร้อน แล้วกลั่นแยกกรดไขมันอิสระและสารที่ให้กลิ่นให้ระเหยออกไป จึงเป็นการกำจัดกลิ่นและทำให้น้ำมันเป็นกลางไปพร้อมกัน การกลั่นน้ำมันปาล์มโดยวิธีทางกายภาพ ทำได้โดยเตรียมน้ำมันปาล์มดิบหรือน้ำมันเมล็ดในปาล์มดิบที่ไม่มีฟอสโฟลิปิด โดยกำจัดออกด้วยน้ำ แล้วทำปฏิกิริยาด้วยกรดฟอสฟอริก ความเข้มข้น 80 – 85 % ประมาณ 0.05 – 0.2 % ของน้ำมันปาล์มดิบผสมกับน้ำมันที่อุณหภูมิ 90 – 100 ํC นาน 15 – 30 นาที จากนั้นเติมผงฟอกสี (bleaching earth) ประมาณ 0.8 – 2.0 % ของน้ำมันปาล์มดิบ และฟอกสีภายใต้สภาพสุญญากาศที่อุณหภูมิ 95–100 ํC นาน 30–45 นาที จากนั้นนำน้ำมันปาล์มผ่านเข้าเครื่องกรองจะได้น้ำมันที่ไม่มีฟอสโฟลิปิด และทำการกลั่นโดยใช้ไอน้ำที่อุณหภูมิน้ำมัน 240 – 270 ํC นาน 1 - 2 ชั่วโมง ภายใต้สภาพสูญญากาศ จะได้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ (Refined Bleached and Deodorized Palm Oil, RBD PO) หรือน้ำมันเมล็ดในปาล์มบริสุทธิ์ (Refined Bleached and deodorized Kernel Palm Oil, RBD PKO)
    tawon001 tawon004 tawon007
  2. วิธีทางเคมี (Chemical refining) เป็นกระบวนการกำจัดกรดไขมันอิสระโดยใช้สารเคมี ที่นิยมคือ ใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์หรือโซเดียมคาร์บอเนต ทำปฏิกิริยากับกรดไขมันอิสระในน้ำมันให้เกิดเป็นสบู่ จากนั้นแยกสบู่ออกโดยวิธีการหมุนเหวี่ยง สำหรับความเข้มข้นของด่างที่ใช้มากน้อยแปรผันตามปริมาณกรดไขมันอิสระในน้ำมันปาล์ม การกลั่นน้ำมันปาล์มด้วยสารละลายด่าง เริ่มด้วยการให้ความร้อนแก่น้ำมันปาล์มดิบที่อุณหภูมิ 80 – 90 ํC แล้วเติมกรดฟอสฟอริกความเข้มข้น 80 – 85 % ในปริมาณ 0.05 – 0.2 % จากนั้นเติมสารละลายด่างซึ่งจะทำให้เกิดสบู่ แยกสบู่ออกด้วยเครื่องหมุนเหวี่ยง และล้างไขสบู่ด้วยน้ำ จากนั้นให้ความร้อนแก่น้ำมันเพื่อไล่น้ำให้ระเหยออก นำน้ำมันมาฟอกสี และกำจัดกลิ่นด้วยไอน้ำ จะได้น้ำมันปาล์มที่เรียกว่า Neutralized Bleached and Deodorized Palm Oil น้ำมันปาล์มที่ผ่านการทำให้บริสุทธิ์แล้ว จะแยกเป็นสองส่วนคือ ส่วนล่างมีลักษณะเป็นไขและส่วนบนเป็นน้ำมันมีสีเหลืองอ่อนถึงเข้ม เนื่องจากน้ำมันที่ได้มีคุณสมบัติทางเคมีและกายภาพบางประการที่ไม่เหมาะสมสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์บางชนิด จึงได้มีการศึกษาการดัดแปรคุณสมบัติของน้ำมันปาล์มโดยใช้กระบวนการต่างๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายมากขึ้น ผลิตผลพลอยได้ที่สำคัญ จากการกลั่นบริสุทธิ์น้ำมันปาล์ม คือ กรดไขมันปาล์ม หรือ Palm Fatty Acid Distillated (PFAD) ซึ่งนิยมใช้เป็นวัตถุดิบในการทำสบู่ อาหารสัตว์ ใช้เป็นสารตั้งต้นในการสกัดกรดไขมันชนิดต่าง ๆ หรือการสกัดวิตามินอีในอุตสาหกรรมออริโอเคมิคอล

 

Palm Oil Fractionation

การแยกส่วน (Fractionation)

การแยกส่วน (Fractionation) เป็นกระบวนการทางกายภาพ เนื่องจากไขมันและน้ำมันเป็นส่วนผสมของไตรกลีเซอร์ไรด์หลายชนิด ซึ่งไตรกลีเซอร์ไรด์แต่ละชนิดจะมีจุดหลอมเหลวต่างกัน จึงทำให้ไขมันและน้ำมันมีจุดหลอมเหลวเป็นช่วง ในการดัดแปรด้วยวิธีแยกส่วนจะใช้สมบัตินี้ในการแยกไขมันที่มีจุดหลอมเหลวต่างกัน น้ำมันที่ใช้ในการแยกส่วน คือน้ำมันปาล์มซึ่งมีความเหมาะสมในการนำมาแยกส่วนเพราะมีส่วนของความอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวในสัดส่วนใกล้เคียงกัน การแยกส่วนทำโดยการหลอมหรือละลายไขมันและน้ำมันให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วลดอุณหภูมิลงก็จะทำให้น้ำมันและไขมันเกิดการตกผลึก หลังจากนั้นนำมากรองแยกส่วนจะได้น้ำมันหรือโอเลอิน และไขมันหรือสเตียรินวิธีการแยกส่วน แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

  1. Dry Fractionation เป็นวิธีการแยกส่วนโดยใช้วิธีการให้ความร้อนแก่น้ำมันปาล์ม ให้มีอุณหภูมิประมาณ 75 ถึง 90 องศาเซลเซียส เพื่อให้น้ำมันปาล์มหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกันจากนั้นนำไปใส่ในถังตกผลึกทำให้เย็นที่อุณหภูมิ 25 ถึง 30 องศาเซลเซียสอย่างช้าๆ น้ำมันปาล์มจะฟอร์มผลึกสเตียริน จากนั้นแยกผลึกออกโดยใช้เครื่องกรอง (Filter Press) จะได้โอเลอิน (จุดขุ่น 8 องศาเซลเซียส) 60 เปอร์เซ็นต์ และสเตียริน 40 เปอร์เซ็นต์ และถ้าต้องการโอเลอีนที่มีคุณภาพสูง (Super Olein) ต้องแยกส่วนเป็นครั้งที่ 2 โอเลอินที่แยกส่วนในครั้งที่ 2 มีจุดขุ่นต่ำลง (4 องศาเซลเซียส) เช่นเดียวกับสเตียรินเมื่อมีการแยกส่วนจำนวนหลายครั้ง จะได้สเตียรินที่มีค่า IV แตกต่างกันไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สำหรับ PMF (Palm Mid Faction) สามารถนำไปใช้ในการผลิตโกโก้บัตเตอร์ได้

    tank
    รูปที่ 5 Crystallization Tank 
    ที่มา : http://www.muezhest.com/dewaxing-winterization.html

    fraction
    รูปที่ 6 Filter Press
    ที่มา : http://membranefilterpress.com/membrane-filterpress.html

  2. Lanza Fractionation ค้นพบโดย Fractelli Lanza เป็นวิธีการแยกส่วนโดยการเติมสาร Detergents หรือ Wetting Agents เช่น Sodium Lauryl Sulphate ในน้ำมันพืช เพื่อทำให้พื้นผิวหน้าของผลึกเปียกและตกตะกอน ผลึกที่เปียกจะชอบน้ำและตกตะกอนในส่วนที่มีน้ำ น้ำจะมีส่วนของไขมัน และน้ำมันหยดใหญ่จะรวมตัวกันใหญ่ขึ้น โดยจะสังเกตเห็น จำนวน 2 ชั้น คือชั้นน้ำมันประกอบด้วยน้ำมันโอเลอิน และส่วนชั้นน้ำประกอบด้วยน้ำและสเตียริน วิธีการแยกส่วนแบบนี้เป็นวิธีที่แยกผลึกขนาดเล็กออกได้ง่ายกว่าวิธีการ Dry Fractionation และใช้ระยะเวลาในการตกผลึกสั้นกว่า
  3. Wet Fractionation เป็นวิธีการที่อาศัยความสามารถในการละลายของไขมันและน้ำมันที่แตกต่างกัน การแยกส่วนด้วยตัวทำละลายจะทำให้การแยกชัดเจนกว่า เพราะไม่ต้องใช้การตกผลึก แต่ใช้การเปลี่ยนอุณหภูมิและปริมาณตัวทำละลาย วิธีการทำโดยการผสมตัวทำละลายกับไขมันและปั๊มผ่านไปสู่เครื่องเกิดผลึก ซึ่งทำให้เย็นที่อุณหภูมิที่จะแยกส่วน ผลึกที่เกิดขึ้นจะถูกกรองแยกออกมา จากนั้นระเหยตัวทำละลายจะได้สเตียรินส่วนโอเลอินและตัวทำละลายจะถูกเก็บทันที หรือไม่ก็ปั๊มไปที่เครื่องเกิดผลึกเพื่อให้ตกผลึกและแยกออกอีก ตัวทำละลายที่นิยมใช้คือ เฮกเซน อะซิโตน และ 2-nitropropane ตัวทำละลายที่แยกส่วนได้ชัดเจนที่สุดคือ อะซิโตนจากการเปรียบเทียบคุณสมบัติของปาล์มโอเลอินที่ถูกแยกส่วนด้วยวิธีต่างๆ พบว่าการแยกส่วนแบบ Lanza จะให้ผลผลิตสูงที่สุดและมีจุดที่มีของแข็งต่ำที่สุด น้ำมันปาล์มโอเลอินที่ได้มีกรดไขมันอิสระต่ำ และมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าวิธีอื่นๆ

Biomass Power plant

โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด

  • โรงไฟฟ้าชีวมวล คือโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด ผลิตไฟฟ้าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือกากที่เหลือจากกระบวนการผลิตจากอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป โดยมีกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในทางเลือกการใช้พลังงานทดแทนในประเทศไทย เราเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญเรื่อง Fuel Feeding System ของ Biomass Power Plant